วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หน่วยส่งออก

หน่วยส่งออก

หน่วยแสดงผล  คือ  ส่วนที่แสดงข้อมูล เป็นตัวกลางของการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับคน  โดยรับข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว จากนั้นจึงแสดงผลในรูปแบบต่าง ๆ โดยอาศัยอุปกรณ์แสดงผล  อาจแสดงให้เห็นให้ได้ยินเสียง หรือบางครั้ง ก็สามารถสัมผัสได้
     จอภาพ (Monitor)
          จอภาพ หรือ Monitor  เครื่องคอมพิวเตอร์จะแสดงรายการแล้วส่งออกจากจอภาพ ซึ่งอาจเป็นรูปภาพ ตัวหนังสือ หรือ ภาพเคลื่อนไหว เช่น หนัง หรือ การ์ตูน




ลำโพง   (Speaker)
         เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่มีปากสำหรับพูด ดังนั้น คอมพิวเตอร์จะส่งเสียงออกทาง ลำโพง หรือให้เราได้ยินเสียงของคอมพิวเตอร์



เครื่องพิมพ์   (Printer)
        บางครั้งข้อมูลบางอย่าง ไม่สามารถแสดงออกทางจอได้ จึงจำเป็นต้องแสดงออกมาทางอื่น เช่น พิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ ดังนั้นเพื่อให้พิมพ์ออกทางกระดาษก็ต้องใช้เครื่องพิมพ์ ซึ่งเครื่องพิมพ์ก็จะมีหลายแบบ เช่น แบบเป็นเข็ม แบบพ่นหมึก และแบบเลเซอร์

หน่วยความจำรอง

  • หน่วยความจำลอง
    หน่วยความจำรองหรือหน่วยเก็บข้อมูล (Storage) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ไว้ และสามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกตามต้องการ บางครั้งเรียกว่า หน่วยความจำสำรอง(Secondary Memory) ประกอบด้วย
    1.  แผ่นบันทึก (floppy disk หรือ diskette) ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีเครื่องขับแผ่นบันทึกอย่างน้อยหนึ่งตัว แผ่นบันทึกที่ใช้ในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบางฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน  
              การเก็บข้อมูลจะทำโดยบันทึกลงไปที่ผิวของแผ่น ปกติใช้ได้ทั้งสองด้าน หัวอ่านของเครื่องขับจึงมีสองหัว แผ่นจะหมุนด้วยความเร็วคงที่ หัวอ่านวิ่งเข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ที่ต้องการ ผิวที่ใช้เก็บข้อมูลจะแบ่งเป็นวงเรียกว่า แทร็ก (track) แต่ละแทร็กจะแบ่งเป็นช่องเก็บข้อมูลเรียกว่า เซกเตอร์ (sector) แผ่นบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 เมกะไบต์  
    p305
  •        2.  ฮาร์ดดิสก์ (harddisk) จะประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่เคลือบสารแม่เหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน  หัวอ่านของเครื่องขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นหมุน หัวอ่านจะเคลื่อนที่เข้าออก เพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น การเก็บข้อมูลในแต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่าไซลินเดอร์  (cylinder)  แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์เก็บข้อมูลเป็นชุดๆ  
           ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก ขนาดของฮาร์ดดิสก์มีความจุเป็นกิกะไบต์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 15 กิกะไบต์ การเขียนอ่านข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์จะกระทำเป็นเซกเตอร์ 
    และเขียนอ่านได้เร็วมาก เวลาที่ใช้ในการวัดการเข้าถึงข้อมูลมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที
    p3051        3.  เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้กันมานานแล้ว  ลักษณะของเทปเป็นแถบสายพลาสติก 
    เคลือบด้วยสารแม่เหล็กเหมือนเทปบันทึกเสียง เทปแม่เหล็กใช้สำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมาก  มีการจัดเก็บและเรียกค้นข้อมูลแบบเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงก็จะเป็นแบบการเข้าถึงโดยลำดับ (sequential access)  เช่น ถ้าต้องการหาข้อมูลที่อยู่ในลำดับที่ 5 บนเทป เราจะต้องอ่านข้อมูลลำดับต้นๆ ก่อนจนถึงข้อมูลที่เราต้องการ  ส่วนการประยุกต์นั้นเน้นสำหรับใช้สำรองข้อมูลเพื่อความมั่นใจ เช่น ถ้าฮาร์ดดิสก์เสียหาย  ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อาจสูญหายได้ จึงจำเป็นต้องเก็บสำรองข้อมูลไว้   
  •  p3052
  •       4.  แผ่นซีดี (Compact Disk : CD ) วิวัฒนาการของการใช้หน่วยความจำรองได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์แผ่นซีดี
     ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก การเก็บข้อมูลบนแผ่นซีดีใช้หลักการทางแสง  แผ่นซีดีที่อ่านได้อย่างเดียว เรียกกันว่า ซีดีรอม (CD- ROM) ข้อมูลที่บันทึกจะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตเหมือนการบันทึกเพลงหรือภาพยนตร์  ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้มาก สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า 750 เมกะไบต์ต่อแผ่นแผ่นซีดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตแผ่นซีดีได้ก้าวหน้าขึ้น  จนสามารถเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า ออปติคัลดิสก์ (optical disk) 
  •  p3053
  • ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/32/p3-5.html

หน่วยความจำหลัก


หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์


  • หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์หน่วยความจำ Computer memory) คือ อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์หน่วยความจำแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำถาวร และ หน่วยความจำชั่วคราว ตัวอย่างของหน่วยความจำถาวรก็เช่น หน่วยความจำแบบแฟลช และหน่วยความจำพวกรอม ตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือพวกหน่วยความจำหลัก เช่น DRAM (แรมชนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน) และแคชของซีพียูซึ่งทำงานได้รวดเร็วมาก (ปกติเป็นแบบ SRAM ซึ่งเร็วกว่า กินไฟน้อยกว่า แต่มีความจุต่อพื้นที่น้อยกว่า DRAM
    หน่วยความจำหลัก
    หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมทั้งตัวคำสั่งในโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะกำลังทำงานอยู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 
    1. แรม (Random Access Memory : RAM) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป  การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียนและการอ่านจะกระทำแบบการเข้าถึงโดยสุ่มคือ เรียกไปที่ตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำนี้เรียกว่า แรม หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที
              เครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ ถ้ามีหน่วยความจำแรมมากๆ จะทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้ดีด้วย หน่วยความจำที่นิยมในปัจจุบันจะประมาณ 32, 64, 128, 256 เมกะไบต์ เป็นต้น
  • p302     2.  รอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึง โดยสุ่มหน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อเปิดเครื่องมา ซีพียูจะเริ่มต้นทำงานได้ทันทีข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบไป
  • p3022
  •       ไมโครคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอาจมีขนาดของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันตามแต่ความต้องการ ปัจจุบันเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น เพื่อให้สามารถบรรจุโปรแกรมขนาดใหญ่ได้  
    ที่มา:  http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/32/p3-2.html
  • หน่วยความจำแคช
     แคช (CACHE) คือ หน่วยความจำภายในชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็ก  และมีความเร็วสูง  จากโครงสร้างหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการจัดโครงสร้างเป็นแบบลำดับชั้น  หน่วยความจำแคช (CACHE) เป็นลำดับชั้นที่อยู่ถัดลงมาจากลำดับชั้นสูงสุด  ซึ่งแคชหากมีหลายระดับ เรียกว่าแคช ระดับ L1,L2,…
        แคช มักถูกเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยความจำหลักซึ่งมักถูกซ่อนเอาไว้จากผู้เขียนโปรแกรม  หรือแม้กระทั่งตัวโปรเซสเซอร์เอง  คือจะทำงานอัตโนมัติ  สั่งการให้ทำงานตามที่ต้องการโดยตรงไม่ได้  จึงเปรียบเสมือนบัฟเฟอร์เล็กๆ ระหว่างหน่วยความจำหลักกับรีจิสเตอร์ในโปรเซสเซอร์
    134805
  • 2.ลักษณะพื้นฐานของหน่วยความจำแคช(Cache)
    หน่วยความจำแคชสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นหน่วยความจำที่ทำงานได้เร็วที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยความจำหลักโดยตรง  ในเวลาเดียวกันก็ต้องการให้มีขนาดใหญ่ที่สุดในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป   โดยรูปที่ 2  แสดงให้เห็นถึงความเร็วในเครื่องคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำหลักที่มีความเร็วต่ำ (เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของซีพียู)  ที่มีปริมาณมาก  และมีหน่วยความจำแคชที่เร็วกว่าแต่มีขนาดเล็ก 
  •  134810
  •       โดยปกติหน่วยความจำแคช จะเก็บสำเนาของข้อมูลบางส่วนในหน่วยความจำหลักเอาไว้  เมื่อโปรเซสเซอร์ต้องการอ่านข้อมูลจำนวนหนึ่ง word ในหน่วยความจำ  ข้อมูลส่วนนั้นจะถูกตรวจสอบว่ามีอยู่ในแคชหรือไม่ ถ้ามีจะนำข้อมูลในแคชไปใช้  ถ้าไม่มีอยู่  ก็จะเกิดการคัดลอกสำเนาข้อมูลหนึ่งบล็อกจากหน่วยความจำหลักมายังแคช แล้วจึงนำ word ที่ต้องการส่งต่อไปให้โปรเซสเซอร์ในภายหลัง  เนื่องจากปรากฏการณ์การอ้างอิงในพื้นที่เดียวกัน(locality of reference) จะทำให้การอ้างอิงข้อมูลในหน่วยความจำครั้งต่อๆไปเป็นการอ้างอิงที่เดิมหรือตำแหน่งใกล้เคียงจุดเดิม  ดังนั้นการคัดลอกข้อมูลหนึ่งบล็อกจากหน่วยความจำหลักมายังแคช จะสามารถถูกนำมาใช้งานได้ในระยะหนึ่ง  ก่อนที่จะมีการคัดลอกข้อมูลในครั้งต่อไป
  •  134813
  •       จากรูปแสดงขั้นตอนในกระบวนการอ่านต่างๆ ที่เกิดขึ้น  ซึ่งสะท้อนให้เห็นโครงสร้างของส่วนประกอบภายในดังนี้
         จากรูปโครงสร้างนี้แคชเชื่อมต่อกับโปรเซสเซอร์ผ่านสายสัญญาณข้อมูล  3 สาย  ได้แก่ สายบอกตำแหน่งที่อยู่  สายควบคุมการทำงาน  และสายสัญญาณข้อมูล  สายบอกตำแหน่งที่อยู่จะเชื่อมต่อเข้ากับบัฟเฟอร์  ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับสายบัสหลักของระบบที่นำไปสู่หน่วยความจำหลัก  เมื่อสามารถค้นพบข้อมูลที่ต้องการในแคช (เรียกว่า cache hit)  บัฟเฟอร์สำหรับข้อมูลและตำแหน่งข้อมูลจะถูกสั่งไม่ให้ทำงาน (disable)  และสื่อสารจะเกิดขึ้นระหว่างโปรเซสเซอร์กับแคช  โดยไม่มีการใช้บัสหลักด้วย  แต่ถ้าไม่สามารถหาข้อมูลที่ต้องการในแคชได้ (เรียกว่า cache miss)  ตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการจะถูกส่งเข้าไปในบัสหลัก  ข้อมูลในหน่วยความจำหลักจะถูกส่งมาที่บัฟเฟอร์ โปรเซสเซอร์  และเข้าเก็บไว้ในแคชตามลำดับ  
  • 134814
  •  ที่มา:http://srb1.go.th/kowjumpa/computer/lesson3_3.html

หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

หน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกอย่างว่า CPU คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์หลักในการประมวลผลกลาง เช่น การคำนวณ เปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การจัดทำรายงาน เป็นต้น หน่วยประมวลผลกลางจึงเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดวิเคราะห์เพื่อหาผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ต้องการได้ ซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับซีพียูจะถูกบรรจุในชิปที่เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์

ซีพียูทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์รับข้อมูล (input device) ตามคำสั่งต่าง ๆ ในโปรแกรมที่เตรียมไว้และส่งต่อไปยังอุปกรณ์แสดงผล (output device) เพื่อให้สามารถเก็บหรืออ่านผลลัพธ์ได้ ถ้าซีพียูยิ่งมีความเร็วมากจะยิ่งประมวลผลได้เร็วขึ้น ความเร็วของซีพียูจะถูกควบคุมโดยสัญญาณนาฬิกา ซึ่งเป็นตัวให้จังหวะการทำงานเหมือนกับจังหวะของการเล่นดนตรี หน่วยวัดความเร็วของสัญญาณนาฬิกาดังกล่าวเรียกว่า เฮิร์ต (Hertz : Hz) ซึ่งเทียบเท่ากับ 1 ครั้งต่อวินาที โดยปกติแล้วซีพียูจะมีการทำงานที่เร็วมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นของซีพียู

หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
            1. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง

หน่วยควบคุม 

            2. หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำ หน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น - การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การบวก ลบ คูณ หาร

- การกระทำทางตรรกะ (AND , OR)

- การเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัวว่ามีค่าเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรก็สามารถเปรียบเทียบได้

- การเลื่อนข้อมูล (Shift)

- การเพิ่มและการลด (Increment and Decrement)

- การตรวจสอบบิท (Test Bit)

การดูแลรักษาหน่วยประมวลผลกลาง

1. ไม่ควรให้ซีพียูอยู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง

2. ไม่ควรวางอาหารและเครื่องดื่มไว้ใกล้ซีพียู

หน่วยรับเข้า

หน่วยรับเข้า
                หน่วยรับเข้า (input unit) เป็นหน่วยที่รับข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์พื้นฐานในการรับข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ แผงแป้นอักขระและเมาส์ นอกจากแผงแป้นอักขระแล้ว ยังมีอุปกรณ์ทางเลือกอื่นๆ เช่น เครื่องกราดภาพ joy stick เครื่องอ่านรหัสแท่ง
                ข้อมูลจากหน่วยรับเข้าจะถูกเปลี่ยนเป็นรหัสของเลขฐานสองซึ่งเป็นระบบตัวเลขที่คอมพิวเตอร์รับรู้ได้และนำไปประมวลผล  เช่น คำนวณและเปรียบเทียบ จัดเก็บ หรือส่งไปยังหน่วยส่งออก
                  1. แผงแป้นอักขระ (keyboard)
                แผงแป้นอักขระเป็นหน่วยรับเข้าพื้นฐานที่สุดของระบบ เพราะคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆ ต้องรับคำสั่งทางแผงแป้นอักขระเท่านั้นยังไม่มีเมาส์หรืออุปกรณ์อื่นๆ
รูป แป้นพิมพ์
                หลักการทำงานของแผงแป้นอักขระคือ แป้นอักษรทุกแป้นมีสวิตช์กดหรือแผ่นเลเยอร์ (layer) ที่มีเส้นคาร์บอนเป็นตัวนำไฟฟ้า 2 แผ่นวางช้อนกันคั่นกลางด้วยอากาศ จัดเป็นวงจรเปิด กระแสไฟฟ้าไม่ครบวงจรกำหนดสถานะเป็นศูนย์ เมื่อแป้นอักษรถูกกด แผ่นเลเยอร์ทั้งสองจะยุบติดกันทำให้วงจรไฟฟ้าปิด สถานะทางตรรกะของสวิตช์จะเปลี่ยนจาก 0 เป็น 1 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในแผงแป้นอักขระจะตรวจจับโดยวิธีการกราด (scan) ว่ามีแป้นใดถูกกด ก็จะอ่านรหัสตัวอักขระของแป้นนั้นส่งผ่านช่องทางอนุกรม (serial port) เข้าในคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่เป็นตัวขับแผงแป้นอักขระ (keyboard device driver) จะส่งข้อมูลที่รับมาไปประมวลผลต่อไป
                การวางตำแหน่งตัวอักขระบนแผงแป้นอักขระ จัดเรียงตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีดที่ใช้กันมานานก่อนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ ใช้มาตรฐาน “QWERTY” ซึ่งได้มาจากลำดับตัวอักษรของมือซ้ายแถวที่สามนับจากแถวล่าง โดยการวางนิ้วก้อย นิ้วนาง นิ้วกลาง และนิ้วชี้ เรียงตามลำดับตัวอักษร ส่วนแป้นภาษาไทย นิยมใช้มาตรฐานที่มีชื่อเรียกว่า เกษมณี และมีลำดับตัวอักษรของมือซ้ายในแถวที่สองจากแถวล่างเป็น “ฟหกด”
                     2. เมาส์ (Mouse)
                เมาส์เป็นอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งบนจอภาพ (pointer) ทำให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ เมาส์ช่วยให้การทำงานหลายอย่างสะดวกและง่ายขึ้นมาก เช่น การเลือกสัญรูปที่ต้องการทำงาน การวาดรูปลายเส้น ด้วยเครื่องมือวาดภาพ
รูป boll mouse
                เมาส์ที่ใช้ในช่วงแรกๆ เป็นแบบกล (ball mouse) โดยวางลูกบอลยางกลมๆ ไว้ด้านล่างของเมาส์ให้สัมผัสกับพื้นลูกบอลแตะกับแกนหมุน 2 แกนที่วางตั้งฉากกัน เมื่อเลื่อนเมาส์ไปมาลูกบอลจะทำให้แกนทั้งสองหมุน จานหมุนที่ปลายแกนซึ่งเจาะรูรอบขอบจานไว้จะหมุนไปด้วย ที่จานหมุนทั้งสองจะมีแอลอีดีเปล่งแสงอินฟราเรดส่งผ่านรูเล็กๆ ที่ขอบจานไปยังตัวตรวจจับแสงที่อยู่ตรงกันข้าม ระยะทางของการเคลื่อนที่ในแต่ละแนวแกนจะถูกตรวจจับโดยการนับจำนวนครั้งของการติดดับของลำแสงจากหลอดแอลอีดีที่ส่องผ่านขอบจานที่เจาะรูไว้อุปกรณ์ในแผ่นวงจรของเมาส์จะส่งข้อมูลการเคลื่อนที่ของจากหมุนทั้ง 2 แกนไปให้ซีพียูซอฟต์แวร์ตัวขับเมาส์จะควบคุมตัวชี้บนจอภาพให้เลื่อนไปมา
                เมาส์อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ออปติคัลวีลเมาส์ (optical wheel mouse)  เมาส์ชนิดนี้มีหลักการทำงานคล้ายกล้องถ่ายรูปดิจิทัลขนาดจิ๋ว ที่ทำการถ่ายภาพด้วยความเร็ว 1,500 ภาพ ต่อวินาที ออปติคัลเมาส์สามารถทำงานได้บนทุกพื้นผิว แสงจากหลอดแอลอีดีสีแดงขนาดเล็กส่องลงบนพื้นในแนวแกน X และ Y แล้วสะท้อนกลับ ไปยังตัวตรวจจับแสงชนิดซีมอส (CMOS sensors) ตัวตรวจจับแสงแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณภาพแล้วส่งข้อมูลไปยังไอซีพิเศษที่มีชื่อว่า ดีเอสพี (digital signal processor) ซึ่งอยู่ในแผ่นวงจรของเมาส์ทำการประมวลผล ดีเอสพีทำงานที่ความเร็วสิบแปดล้านคำสั่งต่อวินาทีในการวิเคราะห์ว่าภาพที่ตรวจจับได้นั้นมีการเคลื่อนที่อย่างไร และส่งข้อมูลของการเคลื่อนที่นั้น ไปควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ
                     อุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับเมาส์ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กคือ แป้นสัมผัส (touchpad) เป็นแผงพลาสติกสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กที่ไวต่อแสง เมื่อใช้นิ้วลากไปมาบนแป้นนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความจุไฟฟ้าในส่วนต่างๆ ของแผงและส่งไปควบคุมตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
รูป แป้นสัมผัส
                  3. เครื่องกราดภาพ (scanner)
                เครื่องกราดภาพ หรือเครื่องกราดตรวจ ใช้เปลี่ยนภาพเป็นรหัสที่โปรแกรมกราฟิกสามารถแสดงผลเป็นภาพบนจอและพิมพ์ทางเครื่องพิมพ์ได้ ทำงานโดยการส่งแสงกราดไปตามภาพแล้วรับแสงสะท้อนกลับมายังกระจกเงาที่อยู่บนแท่นกราดแสง ความสว่างของแสงสะท้อนขึ้นอยู่กับสีและเส้นของภาพ บริเวณที่มีสีจางจะสะท้อนแสงกลับมามากกว่าบริเวณสีเข้ม กระจกจะสะท้อนแสงไปยังเลนส์ที่ทำหน้าที่รวมแสงไปยังไดโอดรับแสง (light-sensitive diodes) เปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นกระแสไฟฟ้า ปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจะเป็นตัวกำหนดความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้า อุปกรณ์แปลงสัญญาณจากแอนะล็อกเป็นดิจิทัล  (analogue-to-digital converter) จะเก็บสัญญาณของแรงดันไฟฟ้าเป็นจุดภาพรวมกันเป็นเส้นที่มีความสว่าง (bright) ที่แตกต่างกันในช่อง 300 ถึง 600 พิกเซลต่อนิ้ว เมื่อแกนกราดภาพเลื่อนไปตลอดแผ่นภาพจะได้เส้นทั้งหมดรวมกันเป็นภาพ
รูป กราดภาพ
                การกราดภาพสี แสงจะส่องผ่านแผ่นกรองแสง (filter) สีแดง เขียว หรือน้ำเงินก่อนกระทบภาพ ข้อมูลดิจิทัลจะถูกส่งไปยังซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์ เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในรูปแบบกราฟิก ส่วนข้อความที่กราดเข้ามาเป็นภาพสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นตัวอักขระได้ด้วยโปรแกรมอ่านอักขระด้วยแสง หรือ โอซีอาร์ (OCR : optical character reader)
                  4. เครื่องอ่านรหัสแท่ง (barcode readers)
                  รหัสแท่งเป็นรหัสที่ใช้แทนข้อความหรือตัวเลขที่ใช้กำกับสินค้าโดยพิมพ์เส้นตามแนวตั้งที่มีความหนาต่างกันเป็นแถบลงบนสินค้าและกล่องบรรจุ รหัสแท่งที่ใช้ในห้างสรรพสินค้าจะใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์แบบ UPC (universal product code)  เข้ารหัสเป็นตัวเลข  12 หลักส่วนรหัสแท่งอีกแบบหนึ่งเรียกว่า Bar 39 (three of nine) เป็นรหัสแท่งที่เป็นแบบอักษร (fonts) ชนิดหนึ่งสามารถแทนได้ทั้งตัวเลขและข้อความโดยไม่กำหนดความยาว นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและหน่วยงานต่างๆ
                การใช้รหัสแท่งในระบบฐานข้อมูลเมื่อเริ่มบันทึกข้อมูลจะบันทึกเป็นรหัสและชื่อสินค้าตามปกติ เมื่อพิมพ์จะเปลี่ยนแบบอักษรของรหัส หรือชื่อสินค้า หรือทั้งรหัสและชื่อตามมาตรฐานที่ใช้เป็นรหัสแท่งลงในชิ้นกระดาษหรือในกล่องสินค้า เมื่อนำรหัสแท่งนี้ไปผ่านเครื่องอ่าน แสงสะท้อนจากรหัสแท่งจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถจำแนกได้ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่เก็บไป เมื่อพบจะบันทึกรายการตามงานที่ใช้ เช่น การซื้อ-ขาย จะบันทึกรายการสินค้าออก จำนวน ราคา และพิมพ์รายการสินค้านั้นลงในใบบันทึกการขายหรือใบเสร็จรับเงินชนิดย่อ งานห้องสมุดจะบันทึกชื่อผู้ยืมหรือคืนหนังสือพร้อมวันเวลา
                เครื่องอ่านรหัสแท่งมีหลายแบบ เป็นแบบแท่นอยู่กับที่หรือแบบมือจับ การรับส่งสัญญาณจะใช้แสงเลเซอร์สีแดง เมื่อนำรหัสแท่งไปผ่านเครื่องอ่านรหัส แสงจะถูกยิงมายังรหัสแท่งและสะท้อนกลับไปยังตัวตรวจจับแสงที่อยู่ในเครื่องเดียวกัน วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องอ่านจะแปลงสัญญาณแสงไปเป็นรหัสตัวเลขและข้อความส่งไปประมวลผล
                 5. กล้องดิจิทัล (digital camera)
                กล้องดิจิทัลเป็นระบบที่ปฏิวัติการถ่ายภาพแบบเดิมโดยไม่ต้องใช้ฟิล์มและกระดาษสำหรับอัดภาพ แต่ใช้วิธีบันทึกภาพลงในสื่อของคอมพิวเตอร์โดยตรงที่เรียกกันว่า memory card ซึ่งก็คือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง กล้องดิจิทัลมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเครื่องกราดภาพ โดยใช้เลนส์รวมแสงไปยังไดโอดเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นไฟฟ้าและสัญญาณของจุดภาพแล้วเก็บลงในหน่วยความจำแบบแฟลชที่อยู่ในตัวกล้องข้อมูลภาพในกล้องดิจิทัลเป็นข้อมูลชนิดเดียวกับแฟ้มภาพในคอมพิวเตอร์จึงสามารถถ่ายโอนมาเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านช่องต่อยูเอสบีได้ทันที
                คุณภาพของกล้องดิจิทัลขึ้นอยู่กับความละเอียดในการบันทึกจุดภาพที่เรียกว่า พิกเซล ซึ่งขึ้นอยู่กับราคาของกล้องด้วย
                  6. เครื่องบันทึกเสียง (sound recorder)
                ในระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์จะมีเครื่องมือบันทึกเสียงติดตั้งมาให้ในเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรมขับอุปกรณ์ไว้อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้เพียงติดตั้งไมโครโฟนเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเรียกใช้โปรแกรมบันทึกเสียงได้ทันที
รูป ช่องติดตั้งระบบเสียง
                ด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีช่องให้ติดตั้งระบบเสียง เป็นเต้ารับขนาดเล็กสามรู แต่ละช่องจะมีสีกำกับไว้ตามมาตรฐานการผลิต ได้แก่ สีชมพูต่อไมโครโฟน (microphone) สีเขียวอ่อนต่อ ลำโพงเสียง (speaker) หรือหูฟัง และสีฟ้า (line in) ต่อสัญญาณเสียงอื่นๆ เข้า เช่นจากเครื่องเล่นเทป ในเครื่องรุ่นใหม่ๆ บางรุ่นจะมีช่องต่อออกไปยังลำโพงเสียงเพิ่มให้อีกเป็นระบบเสียงแบบรอบทิศทาง
รูป sound recorder
                การเรียกใช้เครื่องมือบันทึกเสียงในวินโดวส์ คลิกปุ่ม Start > program > Accessories และ Sound Recorder จะมีเครื่องมือบันทึกเสียงดังภาพ เริ่มบันทึกเสียงคลิกปุ่ม Start Recorder ปุ่ม Start จะเปลี่ยนเป็น Stop Recorder ต้องการหยุดบันทึกเสียงให้คลิกปุ่มนี้ กรอบบันทึกแฟ้มจะปรากฏให้ตั้งชื่อแฟ้มและที่เก็บ
                แฟ้มเสียงจะถูกบันทึกเป็นแฟ้มชนิด wma หรือ Windows Media Audio File หลังจากบันทึกแล้วสามารถใช้โปรแกรมจัดการแฟ้มเสียงแปลงไปเป็นแฟ้มชนิดอื่น เช่น mp3 ไ
ด้

หลักการเลือกคอมพิวเตอร์

หลักการเลือกคอมพิวเตอร์

     ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการทำงานของหลายองค์กร ทั้งการพิมพ์เอกสาร จัดเก็บข้อมูล นำเสนอผลงาน รวมทั้งการออกแบบงานต่างๆ ซึ่งลักษณะของงานจะมีความแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้และคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไป ผู้ใช้ควรศึกษาถึงหลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงและทำความเข้าใจอย่างละเอียดก่อนจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ซึ่งอาจปฎิบัติตามแนวทาง ดังนี้
๓.๑ การสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์
สำหรับการสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับงานมากที่สุด ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องรู้ระดับการใช้งานของตนเอง เพื่อสามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมได้ต่อไป การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งตามประเภทของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้
๑) ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น Microsoft Office เพื่อจัดทำเอกสาร รายงานเพื่อนำเสนอ หรือาจจะใช้โปรแกรม Photoshop แต่งภาพเล็กๆน้อยๆเป็นต้น
                ส่วนผู้ใช้มือใหม่เป็นผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อจะดีกว่า เพราะ จะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง อาจทำให้เครื่องเกิดปัญหาได้บ่อยครั้ง จึงไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง
๒)ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิก (graphic user) งานด้านกราฟิก ตัวอย่างเช่น งานด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณาจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมต่างๆ ที่มีคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงพอสมควร บางครั้งอาจจะต้องใช้โปรแกรมพร้อมกันหลายๆตัว เช่น โปรแกรม Photoshop, IIIustrator, CorelDraw, PageMaker เป็นต้น ซึ่งราคาคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ผู้ใช้ระดับนี้จึงควรจะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง เพราะจะทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องได้ตามลักษณะเฉพาะของงานด้านกราฟิก และทำให้ใช้งานโปรแกรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓)ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกขั้นสูง (advanced graphic user) ซึ่งต้องแสดงผลงานในรูปแบบสามมิติ หรือ 3D animation ผู้ใช้ระดับนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในระดับการคำนวณระดับสูง เช่น การสร้างภาพในรูปแบบสามมิติ โดยใช้โปรแกรม Auto CAD, 3D Studio Max และ Maya เป็นต้น จึงควรจะเลือกประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เองเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
๔) ระดับผู้เล่นเกม (gammer user) ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรองรับเกมที่มีภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ แต่ในปัจจุบันราคาของอุปกรณ์ต่างๆไม่สูงมากจนเกินไป ดังนั้นการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ แต่สำหรับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน และยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้เสียการเรียนแล้วยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกด้วย
วิธีการกำหนดคุณลักษณะคอมพิวเตอร์
                เมื่อทราบระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์แล้วว่าเป็นผู้ใช้งานในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับการทำงานในแต่ละระดับนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer :PC) ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานแตกต่างกันไป โดยมีวิธีการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
๑)สำหรับการใช้งานที่เน้นการทำงานพื้นฐานทั่วไป ส่วนมากจะใช้งานเพื่อสร้างเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ รวมถึงการเล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่เน้นความเร็วและเทคโนโลยีที่สูงนัก สำหรับผู้ใช้ระดับนี้ควรเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเน้นคุณลักษณะของเครื่องสูง มีราคาย่อมเยาว์ คุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Celeron D, Pentium 4, Pentium D หรือ AMD Sempron, AMD Athlon 64x2
แรมประเภท DDR2-SDRAM ขนาด 512 MB ขึ้นไป
เมนบอร์ดเลือกประเภทที่มีชิปแสดงผล ชิปเสียง และชิปเน็ตเวิร์กมาด้วย เพื่อไม่ต้องซื้อการ์ดมาติดตั้งเพิ่มอีก เนื่องจากติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ดแล้ว และเป็นการลดราคาเครื่องโดยรวมลงมาด้วย
ฮาร์ดดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA ขนาดความจุ 160 GB เป็นต้นไป ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในระดับพื้นฐาน
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผลใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเสียงใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ ใช้เป็นแบบ10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storageไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)
สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น จอแสดงผล ควรเลือกแบบซีอาร์ที ขนาด ๑๗ นิ้ว ไดรฟ์ซีดี ดีวีดี โมเด็ม ลำโพง และอื่นๆ เลือกรุ่นที่สามารถใช้งานได้ในราคาปานกลางก็เพียงพอ
๒)สำหรับการใช้งานด้านกราฟิก สำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลาย เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพ งานกราฟิก งานเขียน โปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น โดยอาจมีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองใช้งาน  อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน จึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และเป็นเครื่องที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ช้าเกินไป และสามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆได้หลากหลาย ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมมีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Core 2 Duo หรือ AMD Athlon 64x2
แรมชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 1 GB ขึ้นไป
เมนบอร์ดมีสล็อต PCl Express x16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆอาจเลือกแบบ On Board เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 250 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผลควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCl Express x16 ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 256 MB ขึ้นไป โดยเลือกชิปแสดงผลเป็น nVidia GeForce FX 6800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon x1300 ขึ้นไป
การ์ดเสียงใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ ใช้เป็นแบบ10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storageไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผลขนาดจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๑๙ นิ้ว
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)
สำหรับลำโพง หูฟัง เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องสำรองไฟ และอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเลือซื้อได้ตามความต้องการ และหากต้องการเก็บข้อมูลปริมาณมาก อาจจะเลือกบลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้
๓) สำหรับการใช้งานกราฟิกขั้นสูง สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรมต่างๆโดยเฉพาะงานที่ต้องแสดงผลในรูปแบบสามมิติ รวมถึงการเล่นเกมสามมิติ ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีคุณลักษณะสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมเป็นดังนี้
หากใช้งานด้านตัดต่อภาพยนตร์ อาจเพิ่มแรมเป็น 4 GB ฮาร์ดดิสก์ Serial ATA-II และขนาด 600 GB ขึ้นไป การ์ดจอประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น Vidia Quadro การ์ดเสียงและลำโพงคุณภาพสูงแบบ Surround และอาจเลือกใช้บลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้
๔) สำหรับเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ต้องการเล่นเกมได้อย่างเต็มอรรถรสและไม่ติดขัด ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ ความจุ และมาตรฐานต่างๆอย่างไร ก็ตามการเล่นเกมมากเกินไปจะทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสที่จะทำประโยชน์อย่างอื่นมากมายทั้งต่อตนเองและสังคม ดังนั้น จึงควรรู้จักบริหารเวลาให้เหมาะสม ไม่ควรเล่นเกมมากจนกลายเป็นคนติดเกม ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้เล่นเกม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Core 2 Duo , Intel Core 2 Quad หรือ AMD Athlon 64x2
แรมชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 4 GB ขึ้นไป หรือใช้ขนาด 2 GB จำนวน  ๒ แถว เสียบลงในสล็อตแบบ Dual-Channel
เมนบอร์ดรองรับเทคโนโลยี Dual-Channel ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิธของแรม และเทคโนโลยี RAID มีสล็อต PCl Express x16 จำนวน ๑-๒ ช่อง เพื่อรองรับการทำ SLI หรือ CrossFire
ฮาร์ดดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 320 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผลควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCl Express  ที่มีขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 512 MB ขึ้นไป ชิปแสดงผลที่ใช้ควรเลือก nVidia GeForce FX 8800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon HD1300 ขึ้นไป อาจพิจารณาการทำ SLIหรือ CrossFire ด้วย
การ์ดเสียงใช้การ์ดเสียงคุณภาพดีแบบ Multi-Channel
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbpsหรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้
Optical Storageไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผลขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๒๒ นิ้ว ขึ้นไป
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป
การสำรวจราคา
มื่อผู้ใช้กำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความต้องการแล้ว ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จากร้านขายเครื่องคอมพิวเตอร์หรือศูนย์คอมพิวเตอร์ต่างๆ แล้วนำราคาแต่ละแหล่งมาเปรียบเทียบ เพื่อให้ราคาที่เหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด รวมทั้งตรงกับคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการอีกด้วย
การสำรวจบริการหลังการขาย
ดยดูระยะเวลารับประกันของอุปกรณ์ต่างๆ และการให้บริการหลังการขาย เช่น หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหา ผู้ใช้สามารถติดต่อศูนย์บริการนี้ได้อย่างสะกวดและรวดเร็ว โดยต้องมีผู้ให้คำแนะนำและสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา เพื่อแก้ปัญหาการใช้งานเบื้องต้นได้ รวมทั้งยังสามารถบริการไปซ่อมที่บ้าน (on-site maintenance) ของลูกค้าได้อีกด้วย
การตรวจสภาพอุปกรณ์ก่อนอกจากร้าน
เมื่อได้เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการให้เหมาะสมกับประสิทธิภาพและการใช้งานเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะออกจากร้านก็ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยขีดข่วนหรือมีตำหนิ มีใบเสร็จรับเงินและใบเสร็จรับประกันอย่างครบถ้วน หากมีปัญหาอะไรสามารถกลับมาที่ศูนย์บริการหรือศูนย์ซ่อมอุปกรณ์ต่างๆได้

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก
http://thn21503-03-03.blogspot.com/